7 ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัท ฉบับเข้าใจง่าย

ในปัจจุบันหลายคนหันมาเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งธุรกิจนั้นอาจเป็นธุรกิจเล็กๆ ในครอบครัวหรือแม้แต่ธุรกิจที่ขยับขยายจนกลายมาเป็นบริษัท แต่เมื่อเปิดบริษัทของตัวเองแล้ว “การจดทะเบียนบริษัท” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้

ผู้ประกอบการสามารถดู 7 ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัท ฉบับเข้าใจง่าย เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและกระบวนการในการจดทะเบียนบริษัท 

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

1. ตั้งชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน

ก่อนทำการจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีชื่อบริษัทขึ้นมาก่อนโดยชื่อเหล่านั้นต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนไปแล้ว โดยการคิดชื่อเพื่อใช้ในการจดทะเบียนนั้นเราสามารถยื่นจองได้สูงสุดถึง 3 ชื่อ และจะได้รับการพิจารณาจากชื่อแรก หากชื่อแรกซ้ำหรือไม่ผ่านเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็นายทะเบียนก็จะพิจารณาชื่อในลำดับถัดไปแทน การตั้งชื่อบริษัทก็มีความสำคัญมากเพราะเป็นสิ่งแรกที่จะทำให้ลูกค้าจดจำบริษัทของเราได้  หากชื่อที่ได้ใช้นั้นเป็นชื่อที่ดีมีมงคลด้วยแล้ว ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยเสริมดวงกิจการให้ประสบความสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

สิ่งที่ต้องใช้ในการยื่นจด บริษัท

1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)

2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด

3. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)

4. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)

5. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)

6. สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท

7. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท

8. สำเนาข้อบังคับ ผนึกอากร 200 บาท (ถ้ามี)

9. หลักฐานการชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น

10. กรณีบริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทจำกัดไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุน

จดทะเบียน หรือกรณีบริษัทจำกัดไม่มีคนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้น แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ

ลงนามหรือร่วมลงนามผูกพันบริษัท ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะ

การเงินของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคำขอจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดง

จำนวนเงินที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย

11. แบบ สสช.1 จำนวน 1 ฉบับ

12. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป

13. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการทุกคน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*

14. สำเนาหลักการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

*ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*

15. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง

ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ด้วย)

 สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคน

รับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้

ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง

แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถขอและซื้อได้จากหน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

หรือ Download จาก www.dbd.go.th

นอกจากนี้ในการจัดตั้งบริษัทจะต้องมีตรายาง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  ตรายางบริษัท มีส่วนช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการทำสัญญา ทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ ทั้งยังมีความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับ และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสารได้ดีกว่าการใช้ลายมือชื่ออีกด้วย โดยทางเรามีบริการออกแบบโลโก้บริษัทและออกแบบตรายางที่ตรงตามหลักฮวงจุ้ย ที่จะทำให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือ มั่นคงและมีลูกค้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างโลโก้และตรายาง

ตัวอย่างการออกแบบโลโก้ที่ดูหลักตามฮวงจุ้ย 
  ตัวอย่าง ตรายางบริษัท

                    

ส่วนการยื่นจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ 2 แบบ คือ

  • ยื่นด้วยตนเองต่อนายทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่เราอาศัยอยู่ หรือหากเราอยู่ต่างจังหวัด ก็สามารถยื่นได้ที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด
  • จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th

2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน

หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่มีขึ้นเพื่อใช้สำหรับแสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท ต้องมีการระบุที่อยู่ วัตถุประสงค์ จำนวนหุ้น และข้อมูลของผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คน รวมถึงขึ้นต้นว่าบริษัทและลงท้ายด้วยคำว่าจำกัด ซึ่งในการยื่นหนังสือหนังสือบริคณห์สนธินั้น ต้องยื่นภายใน 30 วันนับตั้งแต่นายทะเบียนแจ้งผลการรับรองชื่อบริษัท

3. จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้งเท่านั้นโดยทุกคนต้องถือคนละ 1 หุ้นหรือมากกว่า จากนั้นเมื่อทำการขายหุ้นบริษัทจนครบแล้ว จะต้องออกหนังสือเพื่อทำการนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยกำหนดการประชุมจะจัดหลังออกหนังสืออย่างน้อย 7 วัน

4. การจัดประชุมเพื่อจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท

ในวาระการประชุมควรประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ การตั้งระเบียบข้อบังคับของบริษัท การเลือกตั้งคณะกรรมการบริษัทและอำนาจของคณะกรรมการ การเลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อทำการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีที่คัดเลือกมารับหน้าที่จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น การรับรองสัญญาที่ผู้ก่อตั้งทำขึ้นก่อนการจดทะเบียนบริษัท กำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้ริเริ่มกิจการหรือผู้ก่อตั้ง ไปจนถึงการกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ

5. เลือกคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ

ในวาระการประชุมควรเลือกคณะกรรมการเพื่อมาทำหน้าที่แทนผู้ก่อตั้งและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในนามบริษัท ด้วยการทำหน้าที่เก็บเงินชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 25% ของราคาจริง จากนั้นเมื่อเก็บค่าหุ้นครบแล้ว ก็จะทำการขอจดทะเบียนบริษัท โดยต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่มีการประชุม แต่ถ้าหากเกิดความล่าช้าและไม่เป็นไปตามระยะเวลาดังกล่าว จะถือว่าการประชุมเป็นโมฆะและต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นใหม่อีกครั้ง

6. ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท

  • ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ จะดำเนินการจากการคิดจากเงินทุนจำนวนแสนละ 50 บาท โดยไม่ว่าจะมีเศษเกินมากี่บาทก็ให้คิดเป็นจำนวนเต็มแสนเท่านั้น ซึ่งการชำระค่าธรรมเนียมเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท คิดตามทุนการจดทะเบียนแสนละ 500 บาทเช่นกัน แต่ขั้นต่ำในการชำระต้องไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
  • ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท

7. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

มาถึงขั้นตอนสุดท้าย เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัทและมอบหนังสือรับรองแล้ว ก็ถือว่าบริษัได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ โดยสมบูรณ์ตามที่บริษัทพึงมีทุกประการ
เพียงแค่รู้ขั้นตอนก็ทำให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนบริษัทตามลำดับได้อย่างถูกต้อง แต่หากต้องการความสะดวกและประหยัดเวลา การใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทจากผู้มีประสบการณ์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทค่ะ

สนใจออกแบบโลโก้บริษัท ติดต่อได้ที่

Line : @theluckyspace


Compare listings

เปรียบเทียบ
Malcare WordPress Security